วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีกับงานประดิษฐ์

การทำงานโดยใช้เทคโนโลยี เป็นการเพิ่มคุณภาพในการทำงานและผลผลิตให้ดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีกับงานประดิษฐ์นั้น จะทำให้เราสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม



เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีจึงเป็นการนำความรู้หลายรูปแบบทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างหรือประดิษฐ์สิ่งของ โดยเน้นการเพิ่มคุณภาพในกระบวนการทำงานและผลผลิตเป็นสำคัญ

ประโยชน์ของเทคโนโลยี
1. ช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2. ได้ผลผลิตที่มีปริมาณมากและมีคุณภาพตามต้องการ
3. เป็นการประหยัดเวลาและแรงงานในการทำงาน เพื่อการลงทุนน้อยแต่ได้กำไรมาก




เทคโนโลยีที่ใช้ในงานประดิษฐ์
1. เครื่องจักรกล ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการผลิตวัตถุดิบต่างๆ ทำงานโดยใช้กลไกทางธรรมชาติหรือกลไกที่มนุษย์สร้างขึ้น
1.1) เครื่องจักรกลธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ที่ราบ เกาะ ทุ่งหญ้า พืช สัตว์ น้ำ อากาศ ดิน หิน แร่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาแปรสภาพเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้วัตถุดิบหรือวัสดุต่างๆ มีคุณภาพตามที่ต้องการ เช่น การใช้น้ำดินสอช่วยทำให้กระจูดมีความเหนียว ไม่เปราะก่อนนำไปสาน เป็นต้น
1.2) เครื่องจักรกลพื้นบ้าน หรือเทคโนโลยีพื้นบ้าน เป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมากไม่มีเครื่องยนต์กลไกควบคุมการทำงาน แต่อาจจะใช้พลังงานคน สัตว์ หรือพลังงานธรรมชาติ เช่น น้ำ ลม แสงอาทิตย์ แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นต้น ได้แก่ เครื่องรีดผักตบชวา เลียดใบลาน เครื่องผ่าไม้ไผ่ เป็นต้น


1.3) เครื่องยนต์ เป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ ให้เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยในการทำงานเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น เครื่องยนต์เหล่านี้ต้องมีการใช้พลังงานต่างๆ ทั้งน้ำมัน ความร้อนจากแสงอาทิตย์ ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ฯลฯ ช่วยในการขับเคลื่อนกลไลต่างๆ ได้แก่ เทคโนโลยีการทอผ้า เทคโนโลยีกาผลิตบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น




1.4) เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเทคโนโลยีระดับสูง มีความสลับซับซ้อน ละเอียดอ่อน แต่ให้ผลที่แม่นยำและน่าเชื่อถือ ได้แก่ เครืองใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เครืองมืออิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด และเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2. แบบผลิตภัณฑ์ เป็นเทคโนโลยีสำเร็จรูปอีกกลุ่มหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยการสร้างแบบขึ้นมาหลายลักษณะ เพื่อสร้างงานให้ออกมามีมาตรฐาน คือ มีความเหมือน ในด้านรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังสามารถควบคุมคุณภาพและราคาได้อีกด้วย สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
2.1) แบบหล่อ เป็นการทำต้นแบบขึ้นมาสำหรับใช้หล่อสิ่งของให้มีขนาด และลักษณะเดียวกัน
2.2) แบบทาบ สร้างขึ้นจากผลิตภัณฑ์แม่แบบ โดยการทาบและร่างแม่แบบเอาไว้เพื่อนำมาทาบเป็นงานชิ้นต่อไป



2.3) แบบพิมพ์ แบบที่ใช้พิมพ์ภาพ  พิมพ์ตัวหนังสือ พิมพ์สัญลักษณ์ ซึ่งได้จากต้นแบบ

2.4) แบบโครงสร้างเหมือน แบบที่เกิดจากการลอกเลียนรูปแบบให้เหมือนกับต้นฉบับ






3. กระบวนการผลิต ขั้นตอนของการผลิตที่มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งขนาด คุณภาพเหมือนกันทุกครั้งที่มีการผลิต ในกระบวนการผลิตแต่ละขั้นตอนนั้น จะต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการหลากหลายเทคโนโลยี ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้นจะมีการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน




การเลือกใช้เทคโนโลยีในงานประดิษฐ์
1. เลือกให้เหมาะสมกับรูปแบบผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
2. เลือกใช้สิ่งที่สร้างขึ้นได้ง่ายโดยการใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น
3. ราคา ต้องเหมาะสมกับคุณภาพและศักยภาพของเทคโนโลยีนั้นๆ
4. มีศักยภาพในการทำงานสูงและให้ผลผลิตในปริมาณมาก
5. ใช้งานและเก็บรัาาได้ง่าย ไม่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน
6. แก้ไขได้ง่าย เมื่อเกิดความชำรุดเสียหาย แต่หากเป็นกรณีที่มีความเสียหายที่อันตราย จะต้อมมีช่างผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและบริการ
7. เทคโนโลยีต้องไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสร้างชิ้นงาน

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่นำมาช่วยในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ เพื่อให้ผลงานเป็นไปตามลักษณะที่ต้องการ แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

1. ประเภทตัด หั่น หรือผ่า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ย่อยวัตถุหรือวัสดุต่างๆให้เป็นชิ้นส่วน นิยมใช้กับงานไม้ งานโลหะ และงานแกะสลัก ได้แก่

1.1 มีด มีหลายชนิด ที่นิยมใช้ในงานประดิษฐ์ได้แก่

    - มีดโต้ ใช้สำหรับตัดไม้

    - มีดจักตอก

    - มีดเจียน

    - มีดแกะสลัก

การเก็บและดูแลรักษามีด
1. ควรลับมีดให้คมอยู่เสมอ
2. หลังการใช้งานทาน้ำมันป้องกันสนิมใบมีดทุกครั้ง
3. รักษาด้ามมีดให้สะอาดและแห้ง
4. ควรเก็บมีดให้มิดชิด และไม่ควรให้คมมีดกระทบกัน

1.2 กรรไกร ใช้สำหรับตัดกระดาษ โลหะ และผ้า จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

    - กรรไกรตัดผ้า

    - กรรไกรตัดโลหะ

วิธีการเก็บและดูแลรักษากรรไกร
1. เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน และใช้ด้วยความระมัดระวัง
2. หลังการใช้งาน ควรลับกรรไกรให้คมอยู่เสมอ
3. เช็ดทำความสะอาดกรรไกรให้เรียบร้อย แล้วชโลมน้ำมันกันสนิม
4. เก็บเข้าที่ให้มิดชิด ให้ห่างจากมือเด็ก

1.3 เลื่อย ใช้ในการตัดแต่งวัสดุที่เป็นไม้

วิธีการเก็บและดูแลรักษากรรไกร
1. เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน และใช้ด้วยความระมัดระวัง
2. หลังการใช้งาน ควรลับกรรไกรให้คมอยู่เสมอ
3. เช็ดทำความสะอาดกรรไกรให้เรียบร้อย แล้วชโลมน้ำมันกันสนิม
4. เก็บเข้าที่ให้มิดชิด ให้ห่างจากมือเด็ก

1.3 เลื่อย ใช้ในการตัดแต่งวัสดุที่เป็นไม้

 


- เลื่อยลันดา ใช้ในการตัดและผ่าวัสดุที่เป็นไม้






- เลื่อยรอ ใช้สำหรับการทำงานที่ประณีต





เลื่อยฉลุ

เลื่อยอก 
- เลื่อยฉลุ และเลื่อยอก ใชในงานฉลุลวดลาย เลื่อยฉลุจะใช้สำหรับงานที่มีขนาดเล็ก ส่วนเลื่อยอก ใช้ในงานที่มีขนาดใหญ่กว่า








- เลื่อยหางหนู ใช้สำหรับตัดส่วนโค้งหรือวงกลม