วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

OTOP หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

         OTOP เป็นคำย่อที่มาจากคำว่า One Thumbon One Product ที่นำไอเดียมาจากประเทศญี่ปุ่นในโครงการ OVOP One Village One Product ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลเพื่อให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้าโดยรัฐพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่ และการบริหารจัดการเพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยระบบร้านค้าเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างรายได้ด้วยการนำทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่ม เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในและต่างประเทศ

ปรัชญาในการจัดตั้งโครงการ OTOP
        “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวทางประการหนึ่ง ที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชน ให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีหลักการ พื้นฐาน 3 ประการ คือ
1.ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local Yet Global)
2.พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self-Reliance-Creativity)
3.การสร้างทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)
        ผลิตภัณฑ์ ไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าเพียงอย่างเดียวแต่เป็นกระบวนการทางความคิด รวมถึงการบริการ การดูแลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาภูมิปัญญาไทย การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจุดเด่น จุดขายที่รู้จักกันแพร่หลายไปทั่วประเทศและทั่วโลก

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งโครงการ OTOP
        จากนโยบายของรัฐบาล ที่แถลงต่อรัฐสภา และตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ. 2544 การดำเนินงานตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.สร้างงาน สร้างรายได้ แก่ชุมชน
2.สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ให้สามารถคิดเอง ทำเอง ในการพัฒนาท้องถิ่น
3.ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
5.ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

ตราสัญลักษณ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
        คณะกรรมการ กอ.นตผ.เห็นชอบให้กำหนดตราสัญลักษณ์โครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ โดยใช้ตราที่มีคำว่า "OTOP" แทนตราที่มีรูปปลาตะเพียน
ภาพ:Otop1.jpg


                                                                   ตราสัญลักษณ์เก่า

ภาพ:Otop2.jpg


                                                            ตราสัญลักษณ์ OTOP ใหม่

OPC (OTOP Product Champion) คือ
        ในปี 2546 คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ. นตผ.) โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ประธานคณะกรรมการได้กำหนดกรอบแนวคิดในการดำเนินการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในเรื่องสินค้า OTOP Product Champion โดยจะคัดสรรจากสินค้าสุดยอดของจังหวัด ภาค และประเทศ รวมทั้ง มีการเชื่อมโยงมาตรฐานสินค้าจากระดับภูมิภาคสู่สากล (Local Links – Global Reaches)

กรอบในการคัดสรร OPC ของจังหวัดและประเทศ
       1. สามารถส่งออกได้ (exportable) โดยมีความแกร่งของตราสินค้า (brand equity)
       2. ผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพเดิม (continuous & consistent)
       3. ความมีมาตรฐาน (standardization) โดยมีคุณภาพ (quality) และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า (satisfaction)
       4. มีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (story of product)

ประเภทผลิตภัณฑ์ที่คัดสรร (Product Classification)
        ประเภทผลิตภัณฑ์ที่คัดสรร แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1. ประเภทอาหาร หมายถึง ผลิตผลทางการเกษตรที่บริโภคสด เช่น ผลไม้ เป็นต้น และผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่พร้อมบริโภค หรืออาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป รวมถึงอาหารแปรรูปที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น น้ำพริก เป็นต้น
2. ประเภทเครื่องดื่ม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น สุราแช่ สุรากลั่น เป็นต้น และไม่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่พร้อมดื่ม ผลิตภัณฑ์ประเภทชงละลาย ขิงผงสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ประเภทชง เช่น น้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร ชาใบหม่อน ชาจีน เป็นต้น
3. ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย หมายถึง ผ้าทอและผ้าถักจากเส้นใยธรรมชาติ หรือเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ผ้าแพรวา ผ้าถักโครเชท์ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ประเภทเสื้อผ้า เครื่องประดับตกแต่งร่างกายจากวัสดุทุกประเภท เช่น ผ้าพันคอ หมวก กระเป๋า เข็มขัด สร้อยคอ ต่างหู รองเท้า เป็นต้น
4. ประเภทของใช้และของประดับตกแต่ง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องเขียน เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องใช้สอยต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มจักสาน ถักสาน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้สอย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น
5. ประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่สะท้อนวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมท้องถิ่น
6. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร หมายถึง ผลผลิตจากธรรมชาติที่ไม่ใช่อาหารบริโภค เช่น เครื่องสำอางสมุนไพร สบู่สมุนไพร แชมพูสมุนไพร น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น หมายเหตุ: ในกรณีที่มีปัญหา ไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทใด ให้คำนึงถึงวัตถุประสงค์ หรือประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก

หลักเกณฑ์การคัดสรร OPC
        หลักเกณฑ์การคัดสรร OPC ที่จะกล่าวต่อไปนี้ใช้ในการคัดเลือกสินค้า “ผู้ผลิต” ซึ่งได้แก่
1. กลุ่มผู้ผลิตชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่รวมกลุ่มกันทั้งที่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการ และไม่มีการจดทะเบียน ได้แก่ กลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ โดยที่สมาชิกในกลุ่มมีการร่วมกันผลิต บริหารจัดการ และรับผลประโยชน์
2. กลุ่มผู้ผลิตวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ วิสาหกิจที่มีจำนวนการจ้างงาน มูลค่าสินทรัพย์ถาวร หรือทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวง
        ซึ่งสินค้าของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ตามข้อ 1 และ 2 จะต้องผ่านคุณสมบัติผ่านเกณฑ์การพิจารณาที่กำหนดไว้
        กรอบแนวคิดของหลักเกณฑ์คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP product champion) ปี พ.ศ. 2547 โดยการสร้างหลักเกณฑ์ทั่วไป (general criteria) ที่สามารถใช้พิจารณาได้กับทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ และหลักเกณฑ์เฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ (specific criteria)

ภาพ:ESarnOTOP7.jpg


การจัดระดับของสินค้า 
        ในปี พ.ศ. 2547 กอ. นตผ. มีนโยบายจะเน้น “คุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์” โดยผลิตภัณฑ์ที่ส่งเข้าคัดสรร ต้องได้รับรองมาตลบานที่กำหนด ซึ่งได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นสำคัญ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ต้องผ่านมาตรฐาน หรืออยู่ใน หระบวนการพัฒนา เพื่อให้ได้มาตรฐาน
        ดังนั้น จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ทั่วไป (general criteria) และหลักเกณฑ์เฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ (specific criteria) ใหม่ โดยกำหนดคะแนนรวมไว้ 100 คะแนน ได้แก่ ด้านหลักเกณฑ์การพิจารณาด้านการผลิต และความเข้มแข็งของชุมชน 40 คะแนน ด้านตัวผลิตภัณฑ์ 30 คะแนน และด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ 30 คะแนน ซึ่งจะนำมากำหนดระดับสินค้า (product level) ออกเป็น 5 ระดับ ตามค่าคะแนน ดังนี้
       1. ระดับ 5 ดาว ได้คะแนนตั้งแต่ 90 คะแนนขึ้นไป เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน หรือมีศักยภาพในการส่งออก
       2. ระดับ 4 ดาว ได้คะแนนระหว่าง 89-90 คะแนน เป็นสินค้าที่มีศักยภาพ เป็นที่ยอมรับระดับประเทศ และสามารถพัฒนาสู่สากลได้
       3. ระดับ 3 ดาว ได้คะแนนระหว่าง 70-79 คะแนน เป็นสินค้าระดับกลาง ที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 4 ดาว
       4. ระดับ 2 ดาว ได้คะแนนระหว่าง 60-69 คะแนน เป็นสินค้าสามารถพัฒนาสู่ระดับ 3 ดาว มีการประเมินศักยภาพเป็นระยะ
       5. ระดับ 1 ดาว ได้คะแนนต่ำกว่า 60 คะแนน เป็นสินค้าที่ไม่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 2 ดาวได้ เนื่องจากมีจุดอ่อนมาก และยากต่อการพัฒนา

การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
        นตผ.จังหวัด ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ จำนวน 1 คณะ ให้มีหน้าที่วางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านการแปรรูป ออกแบบบรรจุภัณฑ์ การบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ตลอดจนติดตามประเมินและรายงานความก้าวหน้าให้ นตผ.จังหวัดทราบทุกระยะ

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ในเเต่ละภาค

ภาคเหนือ
  • ผลิตภัณฑ์ (Product) กบไม้แกะสลัก 4 นิ้ว
  • รายละเอียดผลิตภัณฑ์:กบไม้แกะสลัก 4 นิ้ว เป็นของเล่นเด็ก ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลัก
  • ราคาขายปลีก:90 บาท
  • วัตถุดิบที่ใช้:ไม้ฉำฉา ไม้มะพร้าว ไม้แดง ไม้สัก ฯลฯ
  • สนใจติดต่อ:0855254662

ภาคอีสาน


ภาพ:Otop4.jpg

  • ผลิตภัณฑ์ (Product) ไส้กรอกอีสาน
  • รายละเอียดผลิตภัณฑ์:ไส้กรอกอีสาน
  • น้ำหนัก (Weight : g):500 กรัม
  • ราคาขายส่ง 50 บาท/ราคาขายปลีก 60 บาท
  • วัตถุดิบที่ใช้:เนื้อหมู
  • สถานที่จำหน่าย:กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านน้อยสามัคคี3 หมู่ 15 บ้านน้อย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30110
ภาคตะวันตก


ภาพ:Otop6.jpg
  • ผลิตภัณฑ์ (Product):กล้วยอบน้ำผึ้งผสมเกลือไอโอดีน
  • รายละเอียดผลิตภัณฑ์:เป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากกล้วยน้ำว้า อบด้วยน้ำผึ้งผสมเกลือไอโอดีน บรรจุในกล่องพลาสติกมิดชิด มีรสชาดอร่อย หอมกลิ่นน้ำผึ้ง (8948)
  • ขนาด (Size : cm):กว้าง 8 ยาว 12 สูง 3.5
  • ราคาขายส่ง 25 บาท/ราคาขายปลีก 30 บาท
  • สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 2547
  • ประเภทผลิตภัณฑ์ : อาหาร
วัตถุดิบที่ใช้
      1. กล้วยน้ำว้า
      2. น้ำผึ้ง
      3. เกลือไอโอดีน
  • สถานที่จำหน่าย:คณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบลหินดาด121/30 หมู่ที่ 5 บ้านหินดาดตะวันออก ต.หินดาด อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี 71180
 
                                                                           ภาคตะวันออก


ภาพ:Otop5.jpg
  • ผลิตภัณฑ์ (Product):ผ้าชิ้นบาติก
  • รายละเอียดผลิตภัณฑ์:สำหรับตัดเสื้อ
  • ขนาด (Size : cm) กว้าง 45 นิ้ว/ยาว 195 เซนติเมตร
  • ราคาขายส่ง 380 บาท/ราคาขายปลีก 450 บาท
  • มาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (มผช.) : 51/2546
  • สถานที่จำหน่าย:กลุ่มอาชีพผ้าบาติกชุมชนข้างอำเภอทางไผ่ เลขที่ 173/4 ซอยสหกรณ์ ถนนตากสิน ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 21000

                                                                         ภาคใต้


ภาพ:Otop7.jpg
  • ผลิตภัณฑ์ (Product):กรงนกเขาขนาดใหญ่
โครงสร้างสำคัญของกรงนกเขาประกอบด้วย
1.ตัวกรง ทำด้วยไม้ไผ่ เหลาเป็นเส้นยึดเข้ากันด้วยหวายและไม้
2.หัวกรง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีลวดลายที่สวยงามยึดติดกับตะขอโลหะ
3.ผ้าคลุม ทำด้วยผ้าเนื้อมันอย่างดี ทนแดด ทนฝน
  • ราคาขายปลีก:1200 บาท
  • วัตถุดิบที่ใช้:ไม้ไผ่ หวาย ไม้ เชือก
  • สถานที่จำหน่าย:กลุ่มทำกรงนกเขา 45 หมู่ที่ 1 ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 90130

หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP
        หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP (OTOP Tourism Village) คือ หมู่บ้านที่ผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่มีคุณภาพระดับ 3-5 ดาวมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว มีกระบวนการผลิตสินค้าที่น่าชม มีเรื่องราวตำนาน ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านที่น่าสนใจ มีบรรยากาศน่าหลงไหล โดยใช้หลัก 7P เป็นกระบวนการพัฒนา คือ
  • P1 ด้านการวางแผน และ การบริหารจัดการ (Planing and Management)
  • ภาพ:Otop8.jpgP2 ด้านการกำหนด จุดขาย และ การนำเสนอ (Presentation and Concept Development)
  • P3 ด้านการพัฒนาสถานที่ (Place)
  • P4 ด้านการพัฒนาบุคลากร (People)
  • P5 ด้านการพัฒนาสินค้า และ บริการ (Products and Services)
  • P6 ด้านการตลาด และ การส่งเสริมการขาย (Promotion)
  • P7 ด้านการบริหาร จัดการหมู่บ้านหลัง การพัฒนาแล้วเสร็จ (Post-launch management)
ข้อเเนะนำในการซื้อสินค้า OTOP เป็นของขวัญของฝากให้ชาวต่างประเทศ
        เมื่อสมัยก่อน ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ เช่นไปศึกษา หรือดูงาน จะต้องเตรียมตัวล่วงหน้ามากพอควร เช่นเรื่องเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเรื่องที่จะต้องติดตัวไปด้วยก็คือของขวัญสำหรับให้กับชาวต่างประเทศ เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณและแสดงน้ำใจ อันเป็นธรรมเนียมปฎิบัติกันต่อๆมา ในอดีตของที่คนไทยมักจะนำไปด้วยได้แก่ เน็คไทด์ไหมไทย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ไหมไทย นอกจากนั้น ก็เป็นของชิ้นเล็กๆที่ทำด้วยมือ (Handmade) และพวกเครื่องถม เครื่องเขิน เป็นต้น
        ในปัจจุบัน เมื่อมีสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ที่มีมาตรฐานดี และมีให้เลือกมากมาย การจัดเตรียมของขวัญให้กับชาวต่างประเทศจึงมีทางเลือกมากขึ้น วิธีที่จะเลือกซื้อของขวัญให้กับชาวต่างประเทศนั้น สำหรับประชาชนทั่วไป ก็อาจจะไปเดินดูตามห้างสรรพสินค้า ที่ร้านจำหน่ายสินค้า OTOP หรือที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ก็ได้ และเลือกสินค้าตามที่ ต้องการ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถจับต้อง ดูสินค้าได้ แต่ข้อเสียก็คือ สินค้าตามห้าง จะมีราคาสูงกว่าที่ซื้อจากกลุ่มผู้ผลิตโดยตรงประมาณ 2 ถึง 3 เท่า ขึ้นอยู่กับสถานที่และค่าใช้จ่ายใน การลงทุน บริหารจัดการ และค่าการตลาดของห้าง และยังมีให้เลือกไม่มากนัก แม้แต่สินค้าที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งถือว่ามีราคาถูกกว่าห้าง ก็ยังมีราคาสูงกว่าราคาที่กลุ่มผู้ผลิตประมาณ 2 เท่า และท่านยังจะต้องเลือกสินค้าให้ดีด้วย เมื่อเทียบกับสินค้าในห้างชั้นนำ
        ทางเลือกค้นหาสินค้าของขวัญที่ดี ประหยัดเวลา และสะดวกรวดเร็ว อีกทางหนึ่งก็คือการค้นหาสินค้าทางอินเทอร์เน็ต สินค้าของขวัญ ของฝาก ของชำร่วย ที่เป็นสินค้า OTOP ดีๆมีอยู่มากมายหลายหมื่นรายการในเว็บไซต์ไทยตำบลดอทคอม หรือ www.thaitambon.com ซึ่งในปัจจุบัน (เมษายน 2548) มีสินค้าประมาณ 43,000 รายการ และมีสินค้าของขวัญ ของฝาก ประมาณ 6,700 รายการ โดยมี หน้าสรุปสินค้าของขวัญ ดูได้ที่นี่
        ของขวัญ ของฝากที่คนไทย ชอบนำไปให้ชาวต่างประเทศ ได้แก่สินค้าที่ทำด้วยมือ ใช้วัสดุจากท้องถิ่น และแสดงถึงศิลปะวัฒนธรรมของไทย ซึ่งก็ตรงกับหลักการของสินค้า OTOP(แต่ต้องดูด้วยว่า สินค้า OTOP SME มีมาก และบางรายเป็นสินค้าโรงงาน เป็นแบบนำสมัยและไม่ได้แสดงศิลปะวัฒนธรรมไทยเท่าไรนัก แต่ทำตลาดได้ดี นำเงินเข้าประเทศได้ ถือว่าเป็น OTOP เพื่อการส่งออก)
        สินค้าที่มีผู้นิยมซื้อไปให้ชาวต่างประเทศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าไหม และผ้าฝ้าย ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษสา เครื่องเบญจรงค์ ผลิตภัณฑ์ประเภทจักสานต่างๆ ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องเขิน เครื่องถม เครื่องเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน ได้ติดต่อสั่งซื้อสินค้า OTOP จากกลุ่มผู้ผลิตเพื่อนำไปเป็นของขวัญให้กับชาวต่าง ประเทศ และลูกค้า เป็นจำนวนมาก โดยการเข้ามาดูสินค้าที่เว็บไซต์ไทยตำบลดอทคอม
        การติดต่อสั่งซื้อสินค้าของขวัญ ของฝากดังกล่าว สามารถทำได้ง่ายโดยการใช้โทรศัพท์ติดต่อกับประธานกลุ่มอาชีพ หรือผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในเว็บไซต์ การพูดคุยกันถึงตัวสินค้าจะสะดวกหรือไม่สะดวกนั้นขึ้นอยู่ที่กลุ่มผู้ผลิต มีรูปและรหัสสินค้าในไทยตำบลดอทคอมหรือไม่ ถ้ากลุ่มผู้ผลิตมีอินเทอร์เน็ตใช้ก็จะไม่มีปัญหา สำหรับการชำระเงินนั้น จะต้องตกลง กันเองว่ามีเงื่อนไขอย่างไร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-ไทยตำบลดอทคอม
-จ.สุโขทัย
-โอท็อป
-www.somkiet.com
- http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/Otop

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีกับงานประดิษฐ์

การทำงานโดยใช้เทคโนโลยี เป็นการเพิ่มคุณภาพในการทำงานและผลผลิตให้ดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีกับงานประดิษฐ์นั้น จะทำให้เราสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม



เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีจึงเป็นการนำความรู้หลายรูปแบบทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสร้างหรือประดิษฐ์สิ่งของ โดยเน้นการเพิ่มคุณภาพในกระบวนการทำงานและผลผลิตเป็นสำคัญ

ประโยชน์ของเทคโนโลยี
1. ช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว
2. ได้ผลผลิตที่มีปริมาณมากและมีคุณภาพตามต้องการ
3. เป็นการประหยัดเวลาและแรงงานในการทำงาน เพื่อการลงทุนน้อยแต่ได้กำไรมาก




เทคโนโลยีที่ใช้ในงานประดิษฐ์
1. เครื่องจักรกล ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการผลิตวัตถุดิบต่างๆ ทำงานโดยใช้กลไกทางธรรมชาติหรือกลไกที่มนุษย์สร้างขึ้น
1.1) เครื่องจักรกลธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ที่ราบ เกาะ ทุ่งหญ้า พืช สัตว์ น้ำ อากาศ ดิน หิน แร่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาแปรสภาพเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้วัตถุดิบหรือวัสดุต่างๆ มีคุณภาพตามที่ต้องการ เช่น การใช้น้ำดินสอช่วยทำให้กระจูดมีความเหนียว ไม่เปราะก่อนนำไปสาน เป็นต้น
1.2) เครื่องจักรกลพื้นบ้าน หรือเทคโนโลยีพื้นบ้าน เป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมากไม่มีเครื่องยนต์กลไกควบคุมการทำงาน แต่อาจจะใช้พลังงานคน สัตว์ หรือพลังงานธรรมชาติ เช่น น้ำ ลม แสงอาทิตย์ แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นต้น ได้แก่ เครื่องรีดผักตบชวา เลียดใบลาน เครื่องผ่าไม้ไผ่ เป็นต้น


1.3) เครื่องยนต์ เป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ ให้เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยในการทำงานเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น เครื่องยนต์เหล่านี้ต้องมีการใช้พลังงานต่างๆ ทั้งน้ำมัน ความร้อนจากแสงอาทิตย์ ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ฯลฯ ช่วยในการขับเคลื่อนกลไลต่างๆ ได้แก่ เทคโนโลยีการทอผ้า เทคโนโลยีกาผลิตบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น




1.4) เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเทคโนโลยีระดับสูง มีความสลับซับซ้อน ละเอียดอ่อน แต่ให้ผลที่แม่นยำและน่าเชื่อถือ ได้แก่ เครืองใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เครืองมืออิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด และเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2. แบบผลิตภัณฑ์ เป็นเทคโนโลยีสำเร็จรูปอีกกลุ่มหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยการสร้างแบบขึ้นมาหลายลักษณะ เพื่อสร้างงานให้ออกมามีมาตรฐาน คือ มีความเหมือน ในด้านรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังสามารถควบคุมคุณภาพและราคาได้อีกด้วย สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
2.1) แบบหล่อ เป็นการทำต้นแบบขึ้นมาสำหรับใช้หล่อสิ่งของให้มีขนาด และลักษณะเดียวกัน
2.2) แบบทาบ สร้างขึ้นจากผลิตภัณฑ์แม่แบบ โดยการทาบและร่างแม่แบบเอาไว้เพื่อนำมาทาบเป็นงานชิ้นต่อไป



2.3) แบบพิมพ์ แบบที่ใช้พิมพ์ภาพ  พิมพ์ตัวหนังสือ พิมพ์สัญลักษณ์ ซึ่งได้จากต้นแบบ

2.4) แบบโครงสร้างเหมือน แบบที่เกิดจากการลอกเลียนรูปแบบให้เหมือนกับต้นฉบับ






3. กระบวนการผลิต ขั้นตอนของการผลิตที่มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งขนาด คุณภาพเหมือนกันทุกครั้งที่มีการผลิต ในกระบวนการผลิตแต่ละขั้นตอนนั้น จะต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการหลากหลายเทคโนโลยี ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้นจะมีการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน




การเลือกใช้เทคโนโลยีในงานประดิษฐ์
1. เลือกให้เหมาะสมกับรูปแบบผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
2. เลือกใช้สิ่งที่สร้างขึ้นได้ง่ายโดยการใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น
3. ราคา ต้องเหมาะสมกับคุณภาพและศักยภาพของเทคโนโลยีนั้นๆ
4. มีศักยภาพในการทำงานสูงและให้ผลผลิตในปริมาณมาก
5. ใช้งานและเก็บรัาาได้ง่าย ไม่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน
6. แก้ไขได้ง่าย เมื่อเกิดความชำรุดเสียหาย แต่หากเป็นกรณีที่มีความเสียหายที่อันตราย จะต้อมมีช่างผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและบริการ
7. เทคโนโลยีต้องไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสร้างชิ้นงาน

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่นำมาช่วยในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ เพื่อให้ผลงานเป็นไปตามลักษณะที่ต้องการ แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

1. ประเภทตัด หั่น หรือผ่า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ย่อยวัตถุหรือวัสดุต่างๆให้เป็นชิ้นส่วน นิยมใช้กับงานไม้ งานโลหะ และงานแกะสลัก ได้แก่

1.1 มีด มีหลายชนิด ที่นิยมใช้ในงานประดิษฐ์ได้แก่

    - มีดโต้ ใช้สำหรับตัดไม้

    - มีดจักตอก

    - มีดเจียน

    - มีดแกะสลัก

การเก็บและดูแลรักษามีด
1. ควรลับมีดให้คมอยู่เสมอ
2. หลังการใช้งานทาน้ำมันป้องกันสนิมใบมีดทุกครั้ง
3. รักษาด้ามมีดให้สะอาดและแห้ง
4. ควรเก็บมีดให้มิดชิด และไม่ควรให้คมมีดกระทบกัน

1.2 กรรไกร ใช้สำหรับตัดกระดาษ โลหะ และผ้า จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

    - กรรไกรตัดผ้า

    - กรรไกรตัดโลหะ

วิธีการเก็บและดูแลรักษากรรไกร
1. เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน และใช้ด้วยความระมัดระวัง
2. หลังการใช้งาน ควรลับกรรไกรให้คมอยู่เสมอ
3. เช็ดทำความสะอาดกรรไกรให้เรียบร้อย แล้วชโลมน้ำมันกันสนิม
4. เก็บเข้าที่ให้มิดชิด ให้ห่างจากมือเด็ก

1.3 เลื่อย ใช้ในการตัดแต่งวัสดุที่เป็นไม้

วิธีการเก็บและดูแลรักษากรรไกร
1. เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน และใช้ด้วยความระมัดระวัง
2. หลังการใช้งาน ควรลับกรรไกรให้คมอยู่เสมอ
3. เช็ดทำความสะอาดกรรไกรให้เรียบร้อย แล้วชโลมน้ำมันกันสนิม
4. เก็บเข้าที่ให้มิดชิด ให้ห่างจากมือเด็ก

1.3 เลื่อย ใช้ในการตัดแต่งวัสดุที่เป็นไม้

 


- เลื่อยลันดา ใช้ในการตัดและผ่าวัสดุที่เป็นไม้






- เลื่อยรอ ใช้สำหรับการทำงานที่ประณีต





เลื่อยฉลุ

เลื่อยอก 
- เลื่อยฉลุ และเลื่อยอก ใชในงานฉลุลวดลาย เลื่อยฉลุจะใช้สำหรับงานที่มีขนาดเล็ก ส่วนเลื่อยอก ใช้ในงานที่มีขนาดใหญ่กว่า








- เลื่อยหางหนู ใช้สำหรับตัดส่วนโค้งหรือวงกลม