วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สูตรดินไทย และดินญี่ปุ่น

รวมสูตรทำดินญี่ปุ่น ดินไทย และสูตรดินอื่นๆ



credit picture :




1. สูตรดินไทย
ส่วนผสม
ดินขาว                        1                    ก.ก.
กาวลาเท็ซ์                   600               กรัม
กาวน้ำ                         600              กรัม
วาสลีน                             2              ช้อนโต๊ะ
น้ำมันมะกอก                    4              ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.ผสมดิน กาวลาเท็กซ์ กาวน้ำ น้ำมันมะกอก วาสลีน คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน
2.แผ่ดินให้เป็นแผ่นบางๆ ผึ่งลม กลับดินส่วนด้านล่างให้หมาด นวดสลับกับการผึ่งลมอย่างต่อเนื่องจนเนื้อดินแข็งไม่ติดมือ พร้อมที่จะนำไปใช้งาน
3.ทาวาสลีนที่มือลูบผิวก้อนดินห่อด้วยพลาสติกใสเป็บไว้ในอุณหภูมิปกติ

หมายเหตุ สูตรนี้คัดลอกมาจากหนังสือ ดอกไม้ปั้นแต่ง ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัตนลักษณ์ ปัญจวุฒิพัฒน์



    วิธีการทำดินญี่ปุ่น ส่วนผสม 1 แป้งข้าวเหนียว 500 กรัม       2 แป้งสาลี 250 กรัม   3 กาวลาเท็กซ์ 200 กรัม   4 สารกันบูด  3 ช้อนชา   5 สีอะคิลิค หลายๆสี   7 น้ำหอมกลิ่นที่ชอบ วิธีทำ 1 ใส่แป้งทั้งสองชนิด สารกันบูดลงในภาชนะ ผสมให้เข้ากัน แล้วเทกาวลงไป นวดให้เข้ากัน   2 เติมสารกันบูด นวดให้เข้ากัน 3 ใส่น้ำหอม นวดให้เข้ากัน  4 ผสมสีต่างๆที่ชอบลงไป


วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วัสดุที่ใช้ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์

วัสดุที่ใช้ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ แบ่งตามลักษณะที่เด่นชัดของวัสดุ มี 3 ชนิด ได้แก่
1. วัสดุธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่นมีแตกต่างกันออกไป บางอย่างไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หากคนในท้องถิ่นศึกษาค้าคว้า และนำทรัพยากรเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็จะช่วยเสริมสร้างสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ชุมชน และประเทศได้

1.1 ฟางข้าว นอกจากชาวนาที่นำฟางข้าวมาใช้ประโยชน์ เช่นเป็นอาหารของโค กระบือ ทำปุ๋ยหมัก เพาะเห็นฟางแล้ว ฟางก็สามารถนำมาทำงานประดิษฐ์ได้อีก เช่น นำไปยัดเป็นไส้หมอนขิดรูปสามเหลี่ยม กระถางต้นไม้ ตะกร้า กระเป๋า เป็นต้น





1.2 กะลามะพร้าว มะพร้าวที่ปลูกในไทยมีหลายพันธุ์ ซึ่งพันธุ์ที่เหมาะกับการนำกะลามาทำงานประดิษฐ์คือ มะพร้าวใหญ่ มะพร้าวกลาง และมะพร้าวหมูสี เพราะมีความแข็งแรงมีสีและลวดลายเป็นริ้วรอยธรรมชาติ เมื่อนำมาขัดให้เรียบก็จะมีความมันวาวเหมือนเคลือบด้วยแล็กเกอร์ คนในสมัยโบราณจึงมักนำมาทำเป็นซออู้ กระบวยตักน้ำ ทัพพี เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน



ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย ทั้งกระเป๋า เครื่องประดับ เครื่องใช้ต่างๆ






 


1.3 กล้วย กล้วยเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ผลจนถึงเหง้า  เช่น ผลและหัวปลีใช้ทำอาหาร ใบกล้วยหรือใบตอง ใช้ทำกระทงบายศีี งานใบตองต่างๆ และห่อขนม กาบกล้วยนำมาทำเป็นเชือกถักเป็นกระจาด กระเป๋า ถาด หมวก เป็นต้น


1.4 ผักตบชวา  จัดเป็นวัชพืชที่สร้างความเสียหายให้กับการชลประทาน การประมง การเกษตร และอีกหลายด้านเป็นอย่างมาก แต่ผักตบชวาก็มีประโยชน์ โดยการนำมาทำอาหารสัตว์ ใช้แก้ปัญหาน้ำเสีย  เป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟาง การใช้ผลิตปุ๋ยหมัก ใช้ผลิตก๊าซชีวภาพ นอกจากนั้นยังสามารถนำมาประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ ของประดับตกแต่งได้อีกมากมายหลากหลาย เช่น กระเป๋า รองเท้า โคมไฟ โต๊ะ เก้าอี้ กระจาด หมวก เป็นต้น










1.5 กระจูด เป็นพืชล้มลุกที่มักขึ้นตามห้วย หนอง คลอง บึง บริเวณที่มีน้ำขัง หรือสภาพดินโคลน ตาแหล่งน้ำจืดและฝั่งทะเล ต้นกระจูดนำมาสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เสื่อ กระเป๋า หมวก รองเท้า เป็นต้น






1.6 โสน ส่วนใหญ่ใช้โสนหางไก่ในการสร้างงานประดิษฐ์ เนื่องจากมีลำต้นอวบ เนื้อในอ่อนนุ่มและมีน้ำหนักมาก เมื่อโสนแห้งตายแล้ว จะนำมาตัดป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 5-6 นิ้ว แล้วปอกเปลือกออก จากนั้นฝานเนื้อโสนเป็นแผ่นบางๆจนถึงแกนด้วยมีดคมพิเศษ แล้วนำมาประดิษฐืเป็นดอกไม้ต่างๆ





วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานประดิษฐ์

งานประดิษฐ์ หมายถึง งานที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เพื่อคงามสวยงาม หรือเพื่อประดับตกแต่ง หรือประโยชน์ใช้สอย ผลงานที่เกิดจากงานประดิษฐ์ เราเรียกกันว่า "สิ่งประดิษฐ์"

ความเป็นมาของงานประดิษฐ์
งานประดิษฐ์เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ บางคนอาจจะมีข้อขัดแย้งว่า สัตว์ก็สามารถสร้างสิ่งต่างๆได้ แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างสิ่งที่มนุษย์สร้างและสัตว์สร้างขึ้นนั้น คือ ผลงานของมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงและถูกพัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เสมอ เพราะมนุษย์มีสมองที่สามารถคิดในแง่ของการสร้างสรรค์และสามารถพัฒนาตนเองขึ้นมาได้ตามยุคสมัย

ประโยชน์ของงานประดิษฐ์
1. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และประหยัดค่าใช้จ่าย
2. ผลงานจากงานประดิษฐ์มีประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย
3. สร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ประดิษฐ์
4. สร้างสมาธิทำให้ผู้ประดิษฐ์มีจิตใจที่สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะมีจิตใจจดจ่อกับการสร้างผลงาน
5. รักษาวัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น มาลัย บายศรี การแกะสลักผักและผลไม้ กระทง เป็นต้น
6. สร้างทักษะงานประดิษฐ์ ที่สามารถถูกพัฒนาไปสู่การนำผลงานออกจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว
7. ฝึกการวางแผนการทำงานของตนเอง และการทำงานร่วมกับผู้อื่น

รูปแบบของงานประดิษฐ์
โดยทั่วไปมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบ 2 มิติ คือ ผลงานที่สามารถมองเห็นได้เพียงแค่ ความยาว และความกว้างเท่านั้น


2. รูปแบบ 3 มิติ คือ ผลงานที่สามารถมองเห็นได้รอบด้าน  ทั้งความกว้าง ความยาว ความหนา และความลึก







ประเภทของสิ่งประดิษฐ์

แบ่งตามประโยชน์ใช้สอย สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่
1. ประเภทของเล่น หรือเครื่องเล่น เป็นผลงานที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อสนองตอบความต้องการ ด้านความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และของเล่นบางชนิดยังช่วยเสริมสร้างทักษะด้านการเคลื่อนไหว และด้านสติปัญญาให้แก่ผู้เล่นอีกด้วย




2. ประเภทของใช้ หรือเครื่องใช้ เป็นผลงานที่มุ่งเน้นด้านประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ โดยทั่วไปนิยมใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น หรือเศษวัสดุ มาประยุกต์ ดัดแปลง หรือแปรรูป เพื่อให้เกิดผลงานที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่า และมีรูปแบบที่แปลกใหม่




3. ประเภทเครื่องประดับตกแต่ง เป็นผลงานที่มุ่งเน้นด้านความสวยงาม ใช้ประดับสถานที่ ประดับตกแต่งร่างกายและเสื้อผ้า หรือประกอบเข้ากับสิ่งของอื่นเพื่อทำให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น มีทั้งที่ทำมาจากวัสดุทางธรรมชาติ วัสดุสังเคราะห์ หรือเศษวัสดุ